วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (D-Day)

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (D-Day)

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองส่งทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นับเป็นการเริ่มต้นการบุกครองยุโรปตะวันตกซึ่งถูกนาซีเยอรมนียึดครอง นำไปสู่การฟื้นฟูสาธารณรัฐฝรั่งเศส และมีส่วนต่อชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม
เริ่มการวางแผนปฏิบัติการใน ค.ศ. 1943 หลายเดือนก่อนการบุกครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการลวงทางทหารอย่างมาก ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการองครักษ์ เพื่อลวงฝ่ายเยอรมนีให้เข้าใจผิดในวันที่และสถานที่การยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ลมฟ้าอากาศในดีเดย์นั้นห่างไกลจากอุดมคติ แต่การเลื่อนออกไปจะหมายถึงความล่าช้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ เพราะนักวางแผนการบุกครองตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์ น้ำขึ้นลง และเวลาของวันซึ่งหมายความว่า มีไม่กี่วันในแต่ละเดือนเท่านั้นที่พิจารณาว่าเหมาะสม ฮิตเลอร์ตั้งจอมพล เออร์วิน รอมเมล ของเยอรมนีให้บังคับบัญชากองทัพเยอรมันและพัฒนาป้อมสนามตามกำแพงแอตแลนติกคอยการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตร
มีการระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทะเล ตลอดจนการโจมตีส่งทางอากาศอย่างกว้างขวางก่อนการยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก ทหารส่งทางอากาศอังกฤษ อเมริกันและแคนาดา 24,000 นายลงสู่พื้นดินไม่นานหลังเที่ยงคืนกองพลทหารราบและยานเกราะฝ่าpสัมพันธมิตรเริ่มยกพลขึ้นบกตามชายฝั่งฝรั่งเศสเริ่มตั้งแต่6.30 น. ชายฝั่งนอร์ม็องดีเป้าหมายยาว 80 กิโลเมตรถูกแบ่งเป็นห้าส่วน ได้แก่ อ่าวยูทาห์ โอมาฮา โกลด์ จูโนและซอร์ด ลมแรงพัดพาหนะลำเลียงไปทางตะวันออกของตำแหน่งที่คาดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยูทาห์และโอมาฮา ทหารที่ยกพลขึ้นบกถูกระดมยิงอย่างหนักจากที่ตั้งกำบังที่มองลงมาเห็นชายหาด และชายฝั่งถูกวางทุ่นระเบิดและเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางอย่างหลักไม้ แท่นสามขาโลหะและลวดหนาม ทำให้งานของทีมเก็บกวาดชายหาดยากและอันตราย กำลังพลสูญเสียหนักที่สุดที่โอมาฮา เพราะมีหน้าผาสูง ที่โกลด์ จูโนและซอร์ด หลายเมืองที่มีการป้องกันถูกกวาดล้างในการต่อสู้แบบบ้านต่อบ้านและที่ตั้งปืนใหญ่หลักสองแห่งที่โกลด์ถูกรถถังพิเศษทำลาฝ่ายสัมพันธมิตรไม่บรรลุเป้าหมายทั้งหมดในวันแรกคาเรนเทน  
แซ็ง-โลและบาโยยังอยู่ในการควบคุมของเยอรมนี และกว่าจะยึด ก็องอันเป็นวัตถุประสงค์หลักได้ก็เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ในวันแรก มีเพียงสองหาด (จูโนและโกลด์) เท่านั้นที่เชื่อมถึงกัน และหัวสะพานทั้งห้าเชื่อมกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ทว่า ปฏิบัติการทำให้ได้ที่มั่นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรค่อย ๆ ขยายในหลายเดือนต่อมา กำลังพลสูญเสียฝ่ายเยอรมันในดีเดย์อยู่ที่ราว 1,000 นาย กำลังพลสูญเสียฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ที่อย่างน้อย 12,000 นาย โดยมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับยืนยัน 4,414 นาย พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานและสุสานสงครามในพื้นที่เป็นที่เยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี

การยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกันในวัน d-day

กองทหารพลร่ม(ไม่แน่ใจว่ากองพล 101 หรือ 82)ของกองทัพอเมริกา กำลังเดินทางไปโดดร่มลงใน นอร์มังดี เพื่อก่อกวนแนวรบเยอรมันก่อนจะมีการยกพลขึ้นบก


กองทหารราบเยอรมัน

กองทหารราบอเมริกัน
ทหารพลร่มเยอรมัน ที่ปกป้องเมืองคาเรนเทน   
การรบที่เมืองคาเรนเทน ในฝรั่งเศส เป็นการรบ ระหว่างกองพลร่มที่ 101 ของสหรัฐ กับกองพลร่มที่6 ของเยอรมัน
(ฟัลเชียร์มเยเกอร์)


 ทหารพลร่ม 101 และ 82 ของสหรัฐอเมริกา   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น