วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน (Operation Market Garden) เป็นปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยประเทศอังกฤษ ในห้วงวันที่ 17-25 กันยายน ค.ศ. 1944 เหนือแผ่นดินประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ยุทธบรรจบแบบโอบทางดิ่ง ด้วยการส่งกำลังทางอากาศเข้าสู่เขตแนวหลังของเยอรมันเพื่อยึดเมืองและสะพานขนาดใหญ่สำคัญทั้ง 5 แห่ง พร้อมทั้งให้กองกำลังภาคพื้นดิน คือ กองทัพสนามที่ 30  เคลื่อนที่ไปตามทางหลวงหมายเลข 69 เพื่อตีเจาะแล้วบรรจบกำลังกันที่เมืองอาร์นเน็ม (Arnhem) เพื่อรวมพลก่อนรุกคืบเข้าสู่แคว้นรูห์ (Ruhr) ทางตอนเหนือของเยอรมันต่อไป โดยฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งหมายที่จะเผด็จศึกฝ่ายนาซีเยอรมนีให้เสร็จสิ้นก่อนวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1944

ชื่อหน่วย (ภาษาไทย)ชื่อหน่วย (ภาษาอังกฤษ)ประเทศ
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 1British 1st Airborne Division สหราชอาณาจัก
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 82U.S. 82nd Airborne Division สหรัฐ
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101U.S. 101st Airborne Division สหรัฐ
กองพลน้อย ทหารพลร่มที่ 1Polish 1st Independent Parachute Brigade โปแลนด์
กองพลทหารภูเขาที่ 52British 52nd (Lowland) Division สหราชอาณาจักร
นห้วงปฏิบัติการดังกล่าวนั้น กองกำลังสัมพันธมิตรได้มีการปะทะกับกองกำลังเยอรมันในหลายพื้นที่ แต่พื้นที่ที่มีการปะทะกันอย่างรุนแรงที่สุด คือ บริเวณสะพานจอห์น ฟรอสต์ (John Frost Bridge) ที่เมืองอาร์นเน็ม ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จอมพลเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีต้องการยึดครองให้ได้ เนื่องจากเป็นสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับน้ำหนักของหน่วยยานเกราะได้เป็นอย่างดี
ฝ่ายอังกฤษซึ่งประกอบด้วยกองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 1 (1st Airborne Division)และกองพลน้อยทหารพลร่มที่ 1 โปแลนด์ (Polish 1st Independent Parachute Brigade)ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 โฮเฮนสเตาเฟน (9th SS Panzer Division Hohenstaufen) ของเยอรมันที่มาพักฟื้นและปรับกำลังที่เมืองแห่งนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ยึดเชิงสะพานไว้คนละด้านก่อนจะมีการต่อสู้กันอย่างหนักหน่วงถึง 3 วัน 3 คืน

ในขณะที่ทหารอังกฤษในเมืองอาร์นเน็มยอมจำนนต่อเยอรมันนั้น กองทัพสนามที่ 30 ได้อยู่ห่างจากเมืองอาร์นเน็มไปเพียง 9.4 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เนื่องจากการเคลื่อนพลนั้นใช้ยานเกราะหนัก คือ รถถัง เป็นหัวขบวนจึงทำให้การเคลื่อนพลได้ล่าช้า ทั้งยังถูกฝ่ายเยอรมันก่อกวนด้วยการวินาศกรรมสะพานขนาดเล็กตามรายทางและปล่อยน้ำเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม ทำให้กองทัพสนามที่ 30 ต้องเสียเวลาวางสะพานทุ่นลอยและเคลื่อนพลไปบนท้องถนน จึงทำให้ตกเป็นเป้าของฝ่ายเยอรมันที่ลอบซุ่มโจมตี (Ambush) ด้วยปืนใหญ่รถถังและปืนต่อสู้รถถังจากข้างทาง ทำให้กองพลนี้ต้องเสียเวลาในการเคลียร์เส้นทางและจัดการกับซากรถ ด้วยเหตุนี้กองทัพสนามที่ 30 จึงมิอาจยกทัพมาช่วยเหลือกองพลปีศาจแดงได้ทันการณ์
ในช่วงแรก ฝ่ายเยอรมันได้ทำการหยั่งเชิงกำลังของฝ่ายอังกฤษด้วยการส่งยานเกราะเบาและทหารราบเข้ามา จึงถูกฝ่ายอังกฤษตีโต้ยับเยินกลับไป เมื่อฝ่ายเยอรมันรับรู้ถึงขีดความสามารถของฝ่ายอังกฤษแล้ว และทราบว่าฝ่ายอังกฤษเองก็อ่อนล้าเต็มที่เนื่องจากขาดแคลนทั้งอาวุธ กระสุน และเสบียงอาหาร เพราะการส่งกำลังบำรุงทางเครื่องบินนั้นด้วยการทิ้งสิ่งของนั้นไม่ลงตามเป้าหมาย แต่กลับถูกกระแสลมก็พัดพาไปลงฝั่งเยอรมันเป็นส่วนมาก จึงทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดทัพด้วยการใช้การกำลังยานเกราะหนักเต็มรูปแบบเข้าโจมตีอย่างหนักหน่วง จนในที่สุดฝ่ายอังกฤษก็ต้องยอมจำนนในเวลาต่อมา
การโยกย้ายกำลังของกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 มาที่เมืองอาร์นเน็มนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากภารกิจตีฝ่าวงล้อม (Pocket) ของอังกฤษและแคนาดาที่เมืองฟาเลส์  ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 12-21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เพื่อเปิดช่องและคุ้มกันระวังหลังให้ทหารเยอรมันจากเมือง Merri และเมือง Falaise ถอยร่นออกมาทางเมือง Trun ซึ่งทางหน่วยใต้ดินของฮอลแลนด์ที่ทำงานเป็นสายลับให้อังกฤษได้รายงานข่าวกรองนี้ให้ทางอังกฤษทราบแล้ว รวมทั้งมีภาพถ่ายทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษยืนยันว่ามียานเกราะของเยอรมันอยู่บริเวณใกล้กับเมืองนี้ แต่ ผบ. ควบคุมปฏิบัติการรวม คือ พลโทเฟรเดอริค บราวนิ่ง (Lt. Gen. Frederick Browning) ของอังกฤษไม่เชื่อข่าวกรองนี้ อีกทั้งยังมีการแก่งแย่งกันเอาหน้ากันระหว่างสัมพันธมิตร โดยฝ่ายอังกฤษนำโดยจอมพลมอนโกเมอรี่ ซึ่งเป็นเจ้าภาพปฏิบัติการนี้ ต้องการให้ฝ่ายอังกฤษได้หน้าในการโอบทางดิ่งด้วยการยึดสถานที่ที่สำคัญกว่าฝ่ายอเมริกัน
ซึ่งการวางกำลังโดยการหว่านพลร่มกองพันทหารพลร่มที่ 1 ของอังกฤษและกองพลน้อยพลร่มโปแลนด์ กองพลพลร่มที่ 82,101 ของสหรัฐอเมริกา กระจายตามเขตประเทศฮอลแลนด์(เนเธอร์แลนด์) เข้าไปยังเมืองไอด์โฮเฟน แล้วจะเปิดเส้นทางการรุกรบทางใต้ ให้แก่กองพลรถยานเกราะรักษาพระองค์ของอังกฤษ และทหารราบที่มากับรถลำเลียงของกองทัพที่ 2 เพื่อยึดและป้องกันการทำลายสะพานระหว่างจุดเริ่มต้นจามเมืองไอด์โฮเฟน-เมืองฮาร์นเฮม กองกำลังที่จะกรุยทางให้แก่กองทัพที่ 2 ของอังกฤษได้แก่  กองพันพลร่มที่ 1 อังกฤษ พร้อมกับกองพลน้อยทหารพลร่มของโปแลนด์ และกองพลพลร่มที่ 82,101,506 ของสหรัฐอเมริกาพร้อมกับกองพันพลร่มที่ 3 บางส่วน เพื่อทำการเข้าตีและยึดเมืองไอด์โฮเฟน แล้วป้องกันสะพานเพื่อการขนกำลังพลของกองทัพที่ 2 อังกฤษและกองพลรถถังยานเกราะรักษาพระองค์แต่แผนปฏิบัติการถูกฝ่ายเยอรมันอ่านออก กองกำลังสัมพันธมิตรทั้งหมดต้องถอยกลับมาตั้งหลักเนื่องจาก การหวานพลร่มในตอนกลางวัน โดยมีการยิงป.ต.อ.ปืนต่อสู้อากาศยานเพียงเล็กน้อย แล้วการแซ่ซ้องยินดีของประชาชนชาวดัทช์ที่ออกมาจากบ้านแล้วร่วมฉลองต้อนรับเหล่าทหารเมื่อมาถึงเมืองไอด์โอเฟน กองพันพลร่มที่ 82 ของสหรัฐอเมริกาก็ถูก กองพลน้อยรถถังแพนเซ่อร์(Panzer)ที่ 107 ตีแตกกระเจิงไม่เป็นชิ้นดี ในเส้นทางสายเดี่ยวที่จะออกไปยังเมืองอาร์นเฮม จนกองพันพลร่มที่ 82ขนานนามให้ทางสายนี้ว่า "ทางหลวงนรก" จนทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดการกับสะพานที่จะขนถ่ายกำลังของอังกฤษให้การส่งกำลังพลล่าช้าในเวลาต่อมายอดจำนวนทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่สูญเสียในแผนปฏิบัติการ      Marget-garden (มาร์เก็ต-การ์เดน) หลังจากการย้อนกลับมาตีโต้ของกองกำลังพลร่มสหรัฐอเมริกา ยอดของการสูญเสียที่มากที่สุดของกองพลพลร่มที่ 1 อังกฤษที่ข่มขื่นใจเป็นที่สุด ในการโดดร่มลงในลุ่มแม่น้ำไรน์ ตอนล่าง วันที่ 17 กันยายน ก่อนเข้าเมืองไอด์โฮเฟน ด้วยกำลัง 10,005 นาย อพยพกลับ ในวันที่ 26 กันยายน ได้เพียง 2163 นาย เกือบ 8,000 นายเสียชีวิตหรือบาดเจ็บและถูกจับเป็นเชลยศึก
การป้องกันสะพาน ที่อาร์เนม ของกองพลร่มที่1 อังกฤษ ซึงกองพลร่มอังกฤษนั้นขาดแคลนอาวุธและเสบียงเป็นอย่างมาก

กองพลร่มที่1 อังกฤษ ได้ทำการยอมแพ้ต่อกองทัพเยอรมันหลังจากยืนหยัดต่อสู้จนเสบียงและกระสุนหมด ทั้งๆที่ตอนนั้น กำลังเสริมอยู่ห่างจากอาร์เนม เพียงแค่ 9.4 กิโลเท่านั้น

กองพลร่มที่82ของสหรัฐอเมริกา กำลังรอคำสังการตีโต้เพื่อเข้าช่วยเหลือกองพลร่มที่1 อังกฤษที่ยังเหลืออยู่ไหนเมืองอาร์เนม


กองพลร่มที่1 อังกฤษ ฉายา ปีศาจแดง มีความกล้าหาญ ทรหด อดทน แต่ด้วยยุทธโธปกรณ์ ที่เตรียมมาน้อยโดยเฉพาะอาวุธต่อต้านรถถังและยานเกราะเพราะไม่ขาดคิดว่าจะต้องมาปะทะกับกองกำลังยานเกราะ เอสเอส ในที่แห่งนี้ 



กองพล เอสเอส  เป็นกองกำลังชั้นยอดของกองทัพเยอรมัน ในศึกที่เมืองอาร์เนม นั้น กองพลยานเกราะ เอสเอสที่9 ซึ่งเป็นกองพลที่เจนศึก จากสงครามทางฝั่งตะวันออก(รบกับโซเวียต) ได้มาปรับกำลังพลที่เมืองอาร์เนมพอดีทำให้กลายเป็นความโชคร้ายของกองพลร่มที่1 อังกฤษ ที่ไม่รู้มาก่อน ว่าต้องมาเจอกับกองกำลังชั้นยอดของกองทัพเยอรมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น