วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

อาวุธปืนของฝ่ายสหภาพโซเวียต

1. Mosin Nagant 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ mosin na

ปืนไรเฟิลของทหารกองทัพแดงมีความแม่นยำสูงมากในการยิงระยะไกลแต่มีอัตราการยิงต่อเนื่องต่ำทำให้ลำบากในการต่อสู้ระยะประชิด 
ใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงปลายปี1998
 

2. ปืน PPSH-41
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ppsh
ปืนกลมือของกองทัพบกโซเวียตมีอัตราการยิงต่อเนื่องสูงมากบรรจุกระสุนได้เยอะมากความแม่นยำต่ำไม่เหมาะกับการยิงระยะไกล แต่ 
เหมาะกับการต่อสู้ระยะประชิดและใช้ในหลายประเทศเช่นเวียดนามเหนือหรือเกาหลีเหนือ

3. ปืน SVT-40 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ svt 40
ปืนไรเฟิลชนิดนี้เป็นการอัพเกรดขนานใหญ่ของปืนไรเฟิลประจำกายของกองทัพแดงถึงแม้ว่าทหารจะไม่ได้รับการฝึกให้ใช้ได้อย่างมี 
ประสิทธิภาพแต่ทหารนาซีก็ยอมรับในฐานะอาวุธที่มีความแม่นยำและพลังการทำลายสูง


4. ปืน Tokarev TT-33
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ . ปืน Tokarev TT-33
ปืนพกประจำกายมาตรฐานของทหารกองทัพแดงปืนชนิดนี้ได้รับการพัฒนามาจากปืน M1911 ของสหรัฐโดยดัดแปลงทำให้มันใช้ 
งานได้ดีขึ้นง่ายขึ้นและทนทานมากขึ้น

อาวุธปืนของฝ่ายเยอรมัน

Karabiner 98k

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ kar98


ปืนไรเฟิลกระบอกนี้ นั้น จะนิยมใช้กับพวกทหารนาซีของฝ่ายเยอรมัน

กัน มันเป็นปืนไรเฟิลที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงมากทั้งความ

แม่นยำที่สูงมาก และใช้กระสุนไรเฟิลที่มีอำนาจในการสังหารหยุดยั้ง

ที่ดีเยี่ยมมากนั้นเอง แล้วรวมไปถึง แรงสะท้อนที่คุมง่ายและไม่ถีบ

มากๆของเจ้า KAR98 นั้นเอง และการดึงคั้นรั้งก่อนยิงที่รวดเร็วทันใจ 

และเป็นปืนที่มีความเที่ยงตรงสูงมากนั้นเอง และการบรรจุกระสุนของ

มันที่รวดเร็วทันใจของเจ้าปืนกระบอกนี้นั้นเอง ทำให้มันเป็นปืนที่ใช้

ผ่านในสนามรบในสงครามหลายประเทศ หลายพื้นที่มากๆนั้นเอง



MP 40
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ปืนกล รุ่นนี้ใช้กระสุนขนาด 9 มม. ส่งกระสุนด้วยซองกระสุนบรรจุกระสุน 32 นัด อัตราความเร็วในการยิง 500 นัดต่อนาที เป็นปืนที่ทหารเยอรมันใช้ในระยะประชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารของหน่วย เอส เอส มักนิยมใช้ปืน MP 40 เป็นอาวุธประจำกาย รวมทั้งทหารประจำรถถัง หรือหน่วยยานเกราะ ตลอดจนหน่วยพลร่ม ก็ใช้อาวุธชนิดนี้เป็นอาวุธประจำกาย เพราะไม่ยาวเกะกะ มีความคล่องตัวสูง บรรจุกระสุนได้มาก บำรุงรักษาง่าย และมีความทนทาน ไม่แต่เฉพาะทหารเยอรมันเท่านั้นที่ชมชอบปืนรุ่นนี้ ทหารพันธมิตร และทหารรัสเซียก็มักจะนำไปใช้ เมื่อยึดมันมาได้จากทหารเยอรมัน



Gewehr43

Automatgevär m1943 - Tyskland - AM.045876.jpg

ในช่วงต้นสงครามเยอรมันได้ผลิตปืน Gewehr 41 มา แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะมีความยุ่งยากในการบรรจุกระสุนและเชื่อถือไม่ค่อยได้ หลังจากที่ได้ยึดปืน SVT-40ของโซเวียตมาได้ วิศวกรของเยอรมันได้สังเกตุการโหลดกระสุนด้วยแก๊สที่ดีเยี่ยมของ SVT-40 ทำให้พวกเขาได้นำระบบนั้นมาออกแบบ Gewehr 43 ทำให้มันโหลดกระสุนได้ง่ายและมีความแม่นยำสูงด้วย



STG44

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ stg44

"SturmGewehr" มีความหมายว่า "Storm Rifle" (Storm Troopersคือชื่อเรียกของกองทัพบกนาซีที่มีความสามารถจู่โจมได้รวดเร็วคล้าย พายุดังนั้น Storm Rifle ก็คือ ปืนไรเฟิลจู่โจมของกองทัพบกนาซี)เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ กองทัพบกอังกฤษ จึงเรียกมันว่า "Assault rifle model 1944"หรือปืนไรเฟิลจู่โจมโมเดล 1944 โดย StG.44 นั้นได้รวมคุณสมบัติของCarbines (ปืนไรเฟิลที่เบาและสั้น) Submachine guns (ปืนกลเบา) และAutomatic rifles (ปืนไรเฟิลอัตโนมัติ)จนกลายมาเป็นปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของกองทัพบกนาซีและ แบบแรกของโลกซึ่งปืนไรเฟิลจู่โจมที่ผลิตกันต่อๆ มาก็อาศัยพื้นฐานของ StG.44 แทบทั้งสิ้น




MG42

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทเ42

ปืนกล MG 42 นำเอาปืนกลแบบ MG 34 มาประกอบใหม่ ใช้หลักการเดิม คือการผสมผสานระหว่างแรงสะท้อนของกระสุน และระบบแก๊ส ปืนกล MG 42 ใช้ระบบส่งกระสุนขนาด 7.92 มม. เหมือนปืนกล MG 34 คือใช้ได้ทั้งการใช้สายกระสุนขนาด 50 นัด และกล่องบรรจุกระสุนที่เรียกว่า ดรัม (Drum) ซึ่งดรัมนี้มสองแบบ คือ แบบดรัมเดียว และสองดรัมติดกัน มีอัตราการยิง 1200 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลถึง 2,000 ม. หรือ 2 กม.ปืน กล MG 42 มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพเยอรมัน แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการสั่นของตัวปืน ขณะทำการยิง ส่งผลถึงความแม่นยำของการยิงก็ตาม มันถูกใช้อย่างแพร่หลายจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และกลายเป็นต้นแบบของปืนกลยุคใหม่อย่างเช่น ปืนกล M 60 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

MG34
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ mg 34

การ ทำงานของปืนกล MG 34 นี้ ใช้การทำงานผสมผสานระหว่าง การใช้แรงสะท้อนถอยหลังของดินปืน และแก๊ส ในการยิงแต่ละครั้ง นับเป็นการผสมผสาน ที่ไม่ค่อยจะมีใช้กัน ในระบบการยิงของปืนกลในยุคสมัยนั้น และถือเป็นความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของการประดิษฐ์ระบบการยิงด้วยวิธีนี้ของ Louis ผู้ผลิตปืนกล MG 34ปืนกล MG 34 ใช้ระบบส่งกระสุนขนาด 7.92 มม. ได้ทั้งการใช้สายกระสุน และกล่องบรรจุกระสุนที่เรียกว่า ดรัม (Drum) ซึ่งดรัมนี้มสองแบบ คือ แบบดรัมเดียว และสองดรัมติดกัน มีอัตราการยิง 800-900 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลถึง 2,000 ม. หรือ 2 กม.ปืนกล MG 34 มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพเยอรมัน แม้ว่าปืนกลรุ่นใหม่อย่าง MG 42 จะเกิดขึ้นมาในปี 1942 และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า MG 34 แต่ MG 34 ก็เป็นปืนกลที่ทหารเยอรมันยังคงใช้อยู่ทุกแนวรบ จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

Panzercheck
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ปืนต่อต้านรถถังของเยอรมัน มีอำนาจการทำลายล้างสุงมากสามารถเจาะรถถังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เกือบจะทุกคัน

Panzerfaust
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ panzerfaust

ปืนต่อต้านรถถังอีกรุ่นหนึงของเยอรมัน มีขนาดที่เล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่าpanzercheck มากพกพาไปไหนสะดวกแม้แต่เด็กยังสามารถยิงมันได้ แต่อนุภาพทำลายล้างไม่ต่างกับ panzercheck

FG42
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fg42

FG42 คือปืนไรเฟิลอเนกประสงค์ระบบ Gas-operated rotating bolt ของหน่วยพลร่มเยอรมันได้รับการออกแบบให้มีลักษณะการใช้งานเป็นทั้ง Battle Rifle เเละ LMG  ไปในตัวรุ่นแรกที่ผลิตและนำเข้าประจำการจะมีด้ามจับเป็นทรงเอียงและพานท้ายที่เป็นเหล็กทั้งชิ้น รุ่นต่อมาได้รับการออกแบบด้ามจับใหม่ให้เหมาะแก่การใช้งานมากยิ่งขึ้นและพานท้ายถูกเปลี่ยนเป็นไม้พร้อมกับเพิ่มรางติดกล้องสำหรับการซุ่มยิงเพิ่มเติมจากที่รุ่นแรกที่ผลิตออกมานั้นไม่มีรางติดกล้องเล็งเพิ่มเติมทุกกระบอก ปืนรุ่นนี้คือหนึ่งในปืนที่แสดงถึงความยอดเยี่ยมทางวิศวกรรมของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรจุ 20 นัดตาม ขนาดกระสุน 7.92x57mm ตามมาตรฐานกองทัพเยอรมันในสมัยนั้

Luger P08
ปืนนี้จริงๆ เป็นปืน P08 เวอร์ชั่นปืนทองคำของบริษัท LUGER สัญชาติเยอรมัน ใช้กระสุน 9 MM กับ 7.65 MM เป็นปืนพกที่มีความสวยงามเเละมีเอกลักษณ์ทางด้านศิลปะสูง ด้วยลวดลายเเกะสลักภาพปืนอย่างสวยงามปราณีต โครงปืนหน้าจะทำจากทองคำเยอะน่ะ รูปร่างสวยน่าจับน่าชมน่าสัมผัสมาก มีความคลาสิคมากๆ ความรุนเเรงอยู่ในระดับพอใช้ถึงปานกลาง P08 เป็นปืนที่ได้รับความนิยมมากเเล้วถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ จนในปัจจุบันก็ยังเห็นมีขายตามร้านขายอาวุธบางเเห่งหลายร้าน เเล้วดัดเเปลงให้เท่เเละทันสมัยขึ้นกว่าเมื่อก่อนอีก เเถมยังถูกหลายประเทศนำไปก็อปปี้อีกตังหาก


Walther p38
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ walther p38
ในช่วงกลางปี 1930s กองทัพเยอรมันมีความต้องการปืนพกที่สามารถผลิตต่อครั้งได้ง่ายเเละมากกว่า Luger P08     โดบมีบริษัท Carl Walther Waffenfabrik เข้ามารับหน้าที่ออกเเบบโดยเสนอปืนพกระบบ Short recoil Walther P38 เเรกเริ่มได้ถูกออกเเบบให้เป็นปืนนกในเเต่ทางกองทัพได้ร้องขอให้นำนกสับออกมาด้านนอกจนการปรับปรุงครั้งสุดท้ายเสร็จสิ้นในปี 1939 Walther P38 ได้รับการผลิตจำนวนมากเพื่อเเทนที่ Luger P08 เเต่อย่างไรก็ตามทุกกองกำลังติดอาวุธของเยอรมันก็ยังคงใช้ปืนทั้งสองรุ่นควบคู่กันไปจนจบสงครามโลกครั้งที่ 2 

อาวูธปืนของฝ่ายสหรัฐ

M1 Garand
ปืน M1 Garand

 ป็นปืนที่ฝ่ายสหรัฐใช้เป็นอาวุธประจำกายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสงครามเวียดนามเป็นอาวุธที่มีความแม่นยำสูงมากแต่ก็มีจุดเด่นที่น่ากลัวคือเมื่อทำ การยิงจนกระสุนหมดในการยิงนัดสุดท้ายปืนจะทำการดีดตลับกระสุนออกมาทำให้มี เสียงดังพิ้งซึ่งจะบอกตำแหน่งของผู้ยิงได้ ปืนนี้สามารถเสริมอุปกรณ์พิเศษได้อย่างดาบปลายปืนกล้องเล็งหรือลูกระเบิดแต่ การยิงลูกระเบิดต้องอาศัยกระสุนเปล่า 1 นัดในการช่วยยิงด้ว



M1 Carbine

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ปืนนี้เป็นปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติและมีหลายรุ่นทั้งแบบพานท้ายพับได้มี น้ำหนักเบาเหมาะสำหรับเหล่าพลร่มมีความแม่นยำสูงแต่มีความรุนแรงต่ำกว่าปืนแบบ อื่นแต่ก็ชดเชยด้วยความเล็ก น้ำหนักเบา 



M1 Thompson 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ thompson
ปืนกลมือ Thompson ถูกผลิตมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดทำให้กองทัพในตอนนั้นไม่สนใจในการใช้ในช่วงแรก ปืนนี้ถูกใช้ในกลุ่มมาเฟียแต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทางกองทัพจึงนำมันมาใช้มันเป็นปืนที่น้ำหนักเบามีการยิงกระสุนได้เร็วแต่ความแม่นยำไม่มากและมีการส่ายของลำกล้องสูงมาก เวลายิงเร็วๆ



M1918 BAR 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ m1918
 ปืนชนิดนี้เป็นปืนสนับสนุนของเหล่าหมู่ปืนเป็นปืนที่มีผลิตมาใช้ในสงครามโลก ครั้งที่ 1 แต่ทางกองทัพให้ความเห็นว่ามันเป็นปืนที่มีความยอดเยี่ยมมากในสมัย นั้นจึงไม่สามารถให้มันตกไปอยู่ในมือของฝ่ายข้าศึกได้ปืนนี้จึงถูกเก็บไว้ ก่อนจนสงครามโลกครั้งที่2ระเบิดขึ้น ปืนนี้จึงถูกนำมาใช้มันมี น้ำหนักมากและบรรจุกระสุนได้น้อยและมีความเร็วในการยิงมากทำให้กระสุน



M1903 Springfield
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ m1903 scope

ปืนกระบอกนี้ถูกใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นปืนที่มีความแม่นยำสูงมากๆแต่บรรจุกระสุนได้น้อยจึงไม่สามารถจัดการข้าศึกทีละมากๆได้และในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปืนนี้จะใช้โดยพลแม่นปืนซะเป็นส่วนมาก



M3 Supmachine gun
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ M3a1
ปืนกล M3 เป็นปืนที่ทหารอเมริกันประจำการนานมากถึง 36 ปี ตั้งแต่ปี 1944 - 1980 และเป็นปืนที่มีความนิยมใช้กันในหน่วยพลร่ม หน่วย Ranger ,Green Beret และทหารนาวิกโยธินของฝ่ายสหรัฐฯรวมทั้งหน่วย SAS ของอังกฤษ ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยปืนกลมือ UZI และ H&K MP5-SD 



M1911
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ m1911
ปืนพกยอดนิยม ถูกประจำการครั้งแรกในสงครามฟิลิปปินและมาถึงปัจจุบัน ด้วยกระสุนขนาด.45ACP  ที่ีมีอำนาจการหยุดหยั้งค้อนข้างสูง




BAZOOKA
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ m1 Bazooka gunประวัติ
ปืนต่อต้านรถถังของฝ่ายสหรัฐอเมริกา

ยุทธการที่เบอร์ลิน

ยุทธการที่เบอร์ลิน
ยุทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง

เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1945 กองทัพแดงเจาะแนวรบเยอรมันหลังการรุกวิสตูลา–โอเดอร์และรุกมาทางทิศตะวันตกไกลถึง 40 กิโลเมตรต่อวันผ่านปรัสเซียตะวันออก โลว์เออร์ไซลีเชีย พอเมอราเนียตะวันออกและอัปเปอร์ไซลีเซีย และหยุดชั่วคราวตรงเส้น 60 กิโลเมตรทางตะวันออกของกรุงเบอร์ลินตามแม่
น้ำโอเดอร์ เมื่อการรุกเริ่มขึ้นอีกครั้ง สองแนวรบ (กลุ่มกองทัพ) ของโซเวียตเข้าตีกรุงเบอร์ลินจากทางตะวันออกและใต้ ขณะที่แนวรบที่สามบุกกำลังเยอรมันซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเบอร์ลิน ยุทธการในเบอร์ลินกินเวลาระหว่างวันที่ 20 เมษายนถึงเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม

มีการเตรียมตั้งรับที่ชานกรุงเบอร์ลินครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม เมื่อผู้บัญชาการกองทัพกลุ่มวิสตูลาซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ พลเอก กอททาร์ด ไฮน์รีซี คาดเดาได้ถูกต้องว่าโซเวียตจะผลักดันข้ามแม่น้ำวิสตูลาเป็นหลัก ก่อนการยุทธ์หลักในกรุงเบอร์ลินจะเริ่มขึ้น ฝ่ายโซเวียตจัดการล้อมนครอันเป็นผลจากความสำเร็จในยุทธการที่ราบสูงซีโลว์และที่ฮัลเบอ วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1945 แนวรบเบลารุสเซียที่ 1 นำโดย จอมพล เกออร์กี จูคอฟ เริ่มระดมยิงใจกลางนคร ขณะที่แนวรบยูเครนที่ 1 ของจอมพล อีวาน โคเนฟ ผลักดันจากทางใต้ผ่านแนวสุดท้ายของกองทัพกลุ่มกลาง การตั้งรับของเยอรมนีส่วนใหญ่มีเฮลมุท ไวด์ลิงเป็นผู้นำ และประกอบด้วยกองพลเวร์มัคท์และวัฟเฟน-เอสเอสที่อ่อนกำลังและมียุทโธปกรณ์จำกัด ซึ่งวัฟเฟน-เอสเอสมีอาสาสมัครต่างด้าวเอสเอสจำนวนมาก ตลอดจนสมาชิกโฟล์คสชทูร์มและยุวชนฮิตเลอร์ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างจำกัด ภายในไม่กี่วัน ฝ่ายโซเวียตรุกผ่านนครและถึงใจกลางนครซึ่งมีการต่อสู้แบบประชิด

ก่อนยุทธการสิ้นสุด ฟือแรร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และผู้ติดตามจำนวนหนึ่งก่ออัตวินิบาตกรรม ผู้ป้องกันนครยอมจำนนในวันที่ 2 พฤษภาคม ทว่า การสู้รบยังดำเนินต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของนครจนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปยุติลงในวันที่ 8 พฤษภาคม (หรือ 9 พฤษภาคมในสหภาพโซเวียต) เพราะหน่วยเยอรมนีต่อสู้และหนีไปทางตะวันตกเพื่อยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก แทนที่จะยอมจำนนต่อโซเวียต

ทหารโซเวียตปักธงเหนือรับสภาเยอรมัน

ทหารโซเวียต จับกุมทหารเยอรมันที่ซ่อนตัวอยุ่ในท่อระบายน้ำ

เกออร์กี คอนสตันตีโนวิช จูคอฟ นายพล แห่งสหภาพโซเวียต ผู้ยัดเยียดความปราชัยให้กับเยอรมันในแนวรบตะวันออก
ทหารโซเวียต

ยุทธการตอกลิ่ม

ยุทธการตอกลิ่ม


ยุทธการตอกลิ่ม (อังกฤษ: Battle of the Bulge) (หรือที่ชาวเยอรมันเรียกว่า การรุกโต้ตอบอาร์แดน [Ardennes Counteroffensive] และการรุกฟอน รุนด์สเทดท์) (16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 - 25 มกราคม ค.ศ. 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนี ผ่านเขตภูเขาอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาลโลเนียในเบลเยียม ฝรั่งเศสและลักเซมเบิร์ก บนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อรหัสการรุกครั้งนี้ของเวร์มัคท์ คือ "อุนเทอร์เนเมนวัคท์อัมไรน์" ("ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์") ตามกลอนสวดสร้างความรักชาติเยอรมัน ไดวัคท์อัมไรน์ ชื่อปฏิบัติการของฝรั่งเศส คือ บาแตลเดอาร์แดนการรุกของเยอรมนีได้รับการสนับสนุนจากปฏิบัติการชั้นรองจำนวนมาก ซึ่งมีชื่อว่า อุนเทอร์เนเมนโบเดนพลัทเทอ ไกรฟ์และแวร์รุง ความมุ่งหมายของเยอรมนีสำหรับปฏิบัติการเหล่านี้ คือ เพื่อผ่าแนวรบสัมพันธมิตรอังกฤษและอเมริกาออกเป็นสอง ยึดแอนต์เวิร์ปและจากนั้นเดินหน้าเพื่อโอบล้อมและทำลายสี่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อบีบให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งเอื้อแก่ฝ่ายอักษะเมื่อสัมฤทธิ์ผลแล้ว ฮิตเลอร์จะสามารถมุ่งความสนใจไปยังเขตสงครามทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่การรุกดังกล่าวมีการวางแผนเป็นความลับที่สุด จำกัดการสื่อสารทางวิทยุและเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในความมืด แม้เครื่องถอดรหัสอัลตราแนะนัยว่าอาจมีการบุกตี และเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของกองทัพที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาทำนายการรุกครั้งใหญ่ของเยอรมนี กระนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยังประหลาดใจกับการรุกนี้ ซึ่งเป็นเพราะความเหลิงของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการรุกของตน และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลวการจู่โจมเกือบสมบูรณ์ต่อส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตรบรรลุผลระหว่างช่วงที่สภาพอากาศมืดครึ้ม ซึ่งตรึงกำลังทางอากาศที่เหนือกว่ามากของฝ่ายสัมพันธมิตร การต้านทานอย่างดุเดือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบเมืองสำคัญบาสตอก และภูมิประเทศที่เอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้ตารางเวลาของเยอรมนีล่าช้ากว่ากำหนด กำลังเพิ่มเติมฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งกองทัพที่ 3 ของพลเอกจอร์จ เอส. แพตตัน และสภาพลมฟ้าอากาศที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถบุกตีทางอากาศต่อกองกำลังและแนวส่งกำลังของเยอรมนี ทำให้การรุกครั้งนี้ล้มเหลวความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพเยอรมันทำการเข้าตีแนวรบสัมพันธมิตรในป่าอาร์เดน นับเป็นการรบที่ ฮิตเลอร์ เท หมดหน้าตักเพื่อเปลี่ยนโฉมสงครามฝั่งตะวันตก


หน่วยพลร่มเยอรมัน ทำการโจมตีแนวรบของฝ่ายทหารสหรัฐ 
ทหารสหรัฐ กว่า 1000 นาย ยอมแพ้ต่อกองทัพเยอรมันหลังจากถูก   การโจมตีอย่างฉับพลัน ของเยอรมัน สามารถทำความเสียหายต่อกองทัพสหรัฐเป็นอย่างมาก
ทหารจากกองพลร่มที่ 101 ของสหรัฐ ได้เข้ามาเสริมแนวป้องกันที่เมือง บาศตง

ทหารเยอรมัน เข้าตีแนวรบของฝ่ายอเมริกัน โดย เป็นการรวมกำลังจาก กองพลทหาราบ 
กองพลยานเกราะ กองพลเอสเอส  กองพลร่ม และอื่นๆ


ทหารราบอเมริกัน กำลังทำการป้องกันแนวรบของตัวเองจากการบุกของกองทัพเยอรมัน

ทหารกองพลร่มที่ 101 ของกองทัพอเมริกา ทำการวางแนวป้องกันเมือง บาศตง หลังจากโดนกองทัพเยอรมันล้อมเอาไว้ ซึง ทหารกองพลร่ม101 ได้ทำการยืนหยัดต่อต้านอย่างทรหด สามารถป้องกันการเข้าโจมตีของกองทัพเยอรมันได้หลายครั้ง จนกระทั้ง นายพล จอร์จ เอส แพ็ตตัน นำกำลังมาปลดปล่อยเมืองและตีโต้กลับไป เมือง บาศตง ซึงถือว่าเป็นจุดยุทธสาสตร์ สำคัญมากๆหากโดนยึดไปอาจจะทำให้กองทัพอเมริกาต้องล่าถอยออกจากป่าอาร์เดนและอาจเปลี่ยนโฉมสงครามฝั่งตะวันตก

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน (Operation Market Garden) เป็นปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยประเทศอังกฤษ ในห้วงวันที่ 17-25 กันยายน ค.ศ. 1944 เหนือแผ่นดินประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ยุทธบรรจบแบบโอบทางดิ่ง ด้วยการส่งกำลังทางอากาศเข้าสู่เขตแนวหลังของเยอรมันเพื่อยึดเมืองและสะพานขนาดใหญ่สำคัญทั้ง 5 แห่ง พร้อมทั้งให้กองกำลังภาคพื้นดิน คือ กองทัพสนามที่ 30  เคลื่อนที่ไปตามทางหลวงหมายเลข 69 เพื่อตีเจาะแล้วบรรจบกำลังกันที่เมืองอาร์นเน็ม (Arnhem) เพื่อรวมพลก่อนรุกคืบเข้าสู่แคว้นรูห์ (Ruhr) ทางตอนเหนือของเยอรมันต่อไป โดยฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งหมายที่จะเผด็จศึกฝ่ายนาซีเยอรมนีให้เสร็จสิ้นก่อนวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1944

ชื่อหน่วย (ภาษาไทย)ชื่อหน่วย (ภาษาอังกฤษ)ประเทศ
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 1British 1st Airborne Division สหราชอาณาจัก
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 82U.S. 82nd Airborne Division สหรัฐ
กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101U.S. 101st Airborne Division สหรัฐ
กองพลน้อย ทหารพลร่มที่ 1Polish 1st Independent Parachute Brigade โปแลนด์
กองพลทหารภูเขาที่ 52British 52nd (Lowland) Division สหราชอาณาจักร
นห้วงปฏิบัติการดังกล่าวนั้น กองกำลังสัมพันธมิตรได้มีการปะทะกับกองกำลังเยอรมันในหลายพื้นที่ แต่พื้นที่ที่มีการปะทะกันอย่างรุนแรงที่สุด คือ บริเวณสะพานจอห์น ฟรอสต์ (John Frost Bridge) ที่เมืองอาร์นเน็ม ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จอมพลเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีต้องการยึดครองให้ได้ เนื่องจากเป็นสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับน้ำหนักของหน่วยยานเกราะได้เป็นอย่างดี
ฝ่ายอังกฤษซึ่งประกอบด้วยกองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 1 (1st Airborne Division)และกองพลน้อยทหารพลร่มที่ 1 โปแลนด์ (Polish 1st Independent Parachute Brigade)ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 โฮเฮนสเตาเฟน (9th SS Panzer Division Hohenstaufen) ของเยอรมันที่มาพักฟื้นและปรับกำลังที่เมืองแห่งนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ยึดเชิงสะพานไว้คนละด้านก่อนจะมีการต่อสู้กันอย่างหนักหน่วงถึง 3 วัน 3 คืน

ในขณะที่ทหารอังกฤษในเมืองอาร์นเน็มยอมจำนนต่อเยอรมันนั้น กองทัพสนามที่ 30 ได้อยู่ห่างจากเมืองอาร์นเน็มไปเพียง 9.4 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เนื่องจากการเคลื่อนพลนั้นใช้ยานเกราะหนัก คือ รถถัง เป็นหัวขบวนจึงทำให้การเคลื่อนพลได้ล่าช้า ทั้งยังถูกฝ่ายเยอรมันก่อกวนด้วยการวินาศกรรมสะพานขนาดเล็กตามรายทางและปล่อยน้ำเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม ทำให้กองทัพสนามที่ 30 ต้องเสียเวลาวางสะพานทุ่นลอยและเคลื่อนพลไปบนท้องถนน จึงทำให้ตกเป็นเป้าของฝ่ายเยอรมันที่ลอบซุ่มโจมตี (Ambush) ด้วยปืนใหญ่รถถังและปืนต่อสู้รถถังจากข้างทาง ทำให้กองพลนี้ต้องเสียเวลาในการเคลียร์เส้นทางและจัดการกับซากรถ ด้วยเหตุนี้กองทัพสนามที่ 30 จึงมิอาจยกทัพมาช่วยเหลือกองพลปีศาจแดงได้ทันการณ์
ในช่วงแรก ฝ่ายเยอรมันได้ทำการหยั่งเชิงกำลังของฝ่ายอังกฤษด้วยการส่งยานเกราะเบาและทหารราบเข้ามา จึงถูกฝ่ายอังกฤษตีโต้ยับเยินกลับไป เมื่อฝ่ายเยอรมันรับรู้ถึงขีดความสามารถของฝ่ายอังกฤษแล้ว และทราบว่าฝ่ายอังกฤษเองก็อ่อนล้าเต็มที่เนื่องจากขาดแคลนทั้งอาวุธ กระสุน และเสบียงอาหาร เพราะการส่งกำลังบำรุงทางเครื่องบินนั้นด้วยการทิ้งสิ่งของนั้นไม่ลงตามเป้าหมาย แต่กลับถูกกระแสลมก็พัดพาไปลงฝั่งเยอรมันเป็นส่วนมาก จึงทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดทัพด้วยการใช้การกำลังยานเกราะหนักเต็มรูปแบบเข้าโจมตีอย่างหนักหน่วง จนในที่สุดฝ่ายอังกฤษก็ต้องยอมจำนนในเวลาต่อมา
การโยกย้ายกำลังของกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 มาที่เมืองอาร์นเน็มนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากภารกิจตีฝ่าวงล้อม (Pocket) ของอังกฤษและแคนาดาที่เมืองฟาเลส์  ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 12-21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เพื่อเปิดช่องและคุ้มกันระวังหลังให้ทหารเยอรมันจากเมือง Merri และเมือง Falaise ถอยร่นออกมาทางเมือง Trun ซึ่งทางหน่วยใต้ดินของฮอลแลนด์ที่ทำงานเป็นสายลับให้อังกฤษได้รายงานข่าวกรองนี้ให้ทางอังกฤษทราบแล้ว รวมทั้งมีภาพถ่ายทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษยืนยันว่ามียานเกราะของเยอรมันอยู่บริเวณใกล้กับเมืองนี้ แต่ ผบ. ควบคุมปฏิบัติการรวม คือ พลโทเฟรเดอริค บราวนิ่ง (Lt. Gen. Frederick Browning) ของอังกฤษไม่เชื่อข่าวกรองนี้ อีกทั้งยังมีการแก่งแย่งกันเอาหน้ากันระหว่างสัมพันธมิตร โดยฝ่ายอังกฤษนำโดยจอมพลมอนโกเมอรี่ ซึ่งเป็นเจ้าภาพปฏิบัติการนี้ ต้องการให้ฝ่ายอังกฤษได้หน้าในการโอบทางดิ่งด้วยการยึดสถานที่ที่สำคัญกว่าฝ่ายอเมริกัน
ซึ่งการวางกำลังโดยการหว่านพลร่มกองพันทหารพลร่มที่ 1 ของอังกฤษและกองพลน้อยพลร่มโปแลนด์ กองพลพลร่มที่ 82,101 ของสหรัฐอเมริกา กระจายตามเขตประเทศฮอลแลนด์(เนเธอร์แลนด์) เข้าไปยังเมืองไอด์โฮเฟน แล้วจะเปิดเส้นทางการรุกรบทางใต้ ให้แก่กองพลรถยานเกราะรักษาพระองค์ของอังกฤษ และทหารราบที่มากับรถลำเลียงของกองทัพที่ 2 เพื่อยึดและป้องกันการทำลายสะพานระหว่างจุดเริ่มต้นจามเมืองไอด์โฮเฟน-เมืองฮาร์นเฮม กองกำลังที่จะกรุยทางให้แก่กองทัพที่ 2 ของอังกฤษได้แก่  กองพันพลร่มที่ 1 อังกฤษ พร้อมกับกองพลน้อยทหารพลร่มของโปแลนด์ และกองพลพลร่มที่ 82,101,506 ของสหรัฐอเมริกาพร้อมกับกองพันพลร่มที่ 3 บางส่วน เพื่อทำการเข้าตีและยึดเมืองไอด์โฮเฟน แล้วป้องกันสะพานเพื่อการขนกำลังพลของกองทัพที่ 2 อังกฤษและกองพลรถถังยานเกราะรักษาพระองค์แต่แผนปฏิบัติการถูกฝ่ายเยอรมันอ่านออก กองกำลังสัมพันธมิตรทั้งหมดต้องถอยกลับมาตั้งหลักเนื่องจาก การหวานพลร่มในตอนกลางวัน โดยมีการยิงป.ต.อ.ปืนต่อสู้อากาศยานเพียงเล็กน้อย แล้วการแซ่ซ้องยินดีของประชาชนชาวดัทช์ที่ออกมาจากบ้านแล้วร่วมฉลองต้อนรับเหล่าทหารเมื่อมาถึงเมืองไอด์โอเฟน กองพันพลร่มที่ 82 ของสหรัฐอเมริกาก็ถูก กองพลน้อยรถถังแพนเซ่อร์(Panzer)ที่ 107 ตีแตกกระเจิงไม่เป็นชิ้นดี ในเส้นทางสายเดี่ยวที่จะออกไปยังเมืองอาร์นเฮม จนกองพันพลร่มที่ 82ขนานนามให้ทางสายนี้ว่า "ทางหลวงนรก" จนทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดการกับสะพานที่จะขนถ่ายกำลังของอังกฤษให้การส่งกำลังพลล่าช้าในเวลาต่อมายอดจำนวนทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่สูญเสียในแผนปฏิบัติการ      Marget-garden (มาร์เก็ต-การ์เดน) หลังจากการย้อนกลับมาตีโต้ของกองกำลังพลร่มสหรัฐอเมริกา ยอดของการสูญเสียที่มากที่สุดของกองพลพลร่มที่ 1 อังกฤษที่ข่มขื่นใจเป็นที่สุด ในการโดดร่มลงในลุ่มแม่น้ำไรน์ ตอนล่าง วันที่ 17 กันยายน ก่อนเข้าเมืองไอด์โฮเฟน ด้วยกำลัง 10,005 นาย อพยพกลับ ในวันที่ 26 กันยายน ได้เพียง 2163 นาย เกือบ 8,000 นายเสียชีวิตหรือบาดเจ็บและถูกจับเป็นเชลยศึก
การป้องกันสะพาน ที่อาร์เนม ของกองพลร่มที่1 อังกฤษ ซึงกองพลร่มอังกฤษนั้นขาดแคลนอาวุธและเสบียงเป็นอย่างมาก

กองพลร่มที่1 อังกฤษ ได้ทำการยอมแพ้ต่อกองทัพเยอรมันหลังจากยืนหยัดต่อสู้จนเสบียงและกระสุนหมด ทั้งๆที่ตอนนั้น กำลังเสริมอยู่ห่างจากอาร์เนม เพียงแค่ 9.4 กิโลเท่านั้น

กองพลร่มที่82ของสหรัฐอเมริกา กำลังรอคำสังการตีโต้เพื่อเข้าช่วยเหลือกองพลร่มที่1 อังกฤษที่ยังเหลืออยู่ไหนเมืองอาร์เนม


กองพลร่มที่1 อังกฤษ ฉายา ปีศาจแดง มีความกล้าหาญ ทรหด อดทน แต่ด้วยยุทธโธปกรณ์ ที่เตรียมมาน้อยโดยเฉพาะอาวุธต่อต้านรถถังและยานเกราะเพราะไม่ขาดคิดว่าจะต้องมาปะทะกับกองกำลังยานเกราะ เอสเอส ในที่แห่งนี้ 



กองพล เอสเอส  เป็นกองกำลังชั้นยอดของกองทัพเยอรมัน ในศึกที่เมืองอาร์เนม นั้น กองพลยานเกราะ เอสเอสที่9 ซึ่งเป็นกองพลที่เจนศึก จากสงครามทางฝั่งตะวันออก(รบกับโซเวียต) ได้มาปรับกำลังพลที่เมืองอาร์เนมพอดีทำให้กลายเป็นความโชคร้ายของกองพลร่มที่1 อังกฤษ ที่ไม่รู้มาก่อน ว่าต้องมาเจอกับกองกำลังชั้นยอดของกองทัพเยอรมัน

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (D-Day)

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (D-Day)

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองส่งทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นับเป็นการเริ่มต้นการบุกครองยุโรปตะวันตกซึ่งถูกนาซีเยอรมนียึดครอง นำไปสู่การฟื้นฟูสาธารณรัฐฝรั่งเศส และมีส่วนต่อชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม
เริ่มการวางแผนปฏิบัติการใน ค.ศ. 1943 หลายเดือนก่อนการบุกครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการลวงทางทหารอย่างมาก ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการองครักษ์ เพื่อลวงฝ่ายเยอรมนีให้เข้าใจผิดในวันที่และสถานที่การยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ลมฟ้าอากาศในดีเดย์นั้นห่างไกลจากอุดมคติ แต่การเลื่อนออกไปจะหมายถึงความล่าช้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ เพราะนักวางแผนการบุกครองตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์ น้ำขึ้นลง และเวลาของวันซึ่งหมายความว่า มีไม่กี่วันในแต่ละเดือนเท่านั้นที่พิจารณาว่าเหมาะสม ฮิตเลอร์ตั้งจอมพล เออร์วิน รอมเมล ของเยอรมนีให้บังคับบัญชากองทัพเยอรมันและพัฒนาป้อมสนามตามกำแพงแอตแลนติกคอยการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตร
มีการระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทะเล ตลอดจนการโจมตีส่งทางอากาศอย่างกว้างขวางก่อนการยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก ทหารส่งทางอากาศอังกฤษ อเมริกันและแคนาดา 24,000 นายลงสู่พื้นดินไม่นานหลังเที่ยงคืนกองพลทหารราบและยานเกราะฝ่าpสัมพันธมิตรเริ่มยกพลขึ้นบกตามชายฝั่งฝรั่งเศสเริ่มตั้งแต่6.30 น. ชายฝั่งนอร์ม็องดีเป้าหมายยาว 80 กิโลเมตรถูกแบ่งเป็นห้าส่วน ได้แก่ อ่าวยูทาห์ โอมาฮา โกลด์ จูโนและซอร์ด ลมแรงพัดพาหนะลำเลียงไปทางตะวันออกของตำแหน่งที่คาดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยูทาห์และโอมาฮา ทหารที่ยกพลขึ้นบกถูกระดมยิงอย่างหนักจากที่ตั้งกำบังที่มองลงมาเห็นชายหาด และชายฝั่งถูกวางทุ่นระเบิดและเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางอย่างหลักไม้ แท่นสามขาโลหะและลวดหนาม ทำให้งานของทีมเก็บกวาดชายหาดยากและอันตราย กำลังพลสูญเสียหนักที่สุดที่โอมาฮา เพราะมีหน้าผาสูง ที่โกลด์ จูโนและซอร์ด หลายเมืองที่มีการป้องกันถูกกวาดล้างในการต่อสู้แบบบ้านต่อบ้านและที่ตั้งปืนใหญ่หลักสองแห่งที่โกลด์ถูกรถถังพิเศษทำลาฝ่ายสัมพันธมิตรไม่บรรลุเป้าหมายทั้งหมดในวันแรกคาเรนเทน  
แซ็ง-โลและบาโยยังอยู่ในการควบคุมของเยอรมนี และกว่าจะยึด ก็องอันเป็นวัตถุประสงค์หลักได้ก็เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ในวันแรก มีเพียงสองหาด (จูโนและโกลด์) เท่านั้นที่เชื่อมถึงกัน และหัวสะพานทั้งห้าเชื่อมกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ทว่า ปฏิบัติการทำให้ได้ที่มั่นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรค่อย ๆ ขยายในหลายเดือนต่อมา กำลังพลสูญเสียฝ่ายเยอรมันในดีเดย์อยู่ที่ราว 1,000 นาย กำลังพลสูญเสียฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ที่อย่างน้อย 12,000 นาย โดยมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับยืนยัน 4,414 นาย พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานและสุสานสงครามในพื้นที่เป็นที่เยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี

การยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกันในวัน d-day

กองทหารพลร่ม(ไม่แน่ใจว่ากองพล 101 หรือ 82)ของกองทัพอเมริกา กำลังเดินทางไปโดดร่มลงใน นอร์มังดี เพื่อก่อกวนแนวรบเยอรมันก่อนจะมีการยกพลขึ้นบก


กองทหารราบเยอรมัน

กองทหารราบอเมริกัน
ทหารพลร่มเยอรมัน ที่ปกป้องเมืองคาเรนเทน   
การรบที่เมืองคาเรนเทน ในฝรั่งเศส เป็นการรบ ระหว่างกองพลร่มที่ 101 ของสหรัฐ กับกองพลร่มที่6 ของเยอรมัน
(ฟัลเชียร์มเยเกอร์)


 ทหารพลร่ม 101 และ 82 ของสหรัฐอเมริกา